วัดพระยืน : อรัญวาสีแห่งนครลำพูน สู่จุดกำเนิดลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา
วัดพระยืนตั้งอยู่เลขที่
1 บ้านพระยืน หมู่ที่ 1 ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง
จังหวัดลำพูน อยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำกวง
แกนเดียวกันกับพระธาตุหริภุญชัยทางทิศตะวันออก
ประวัติความเป็นมาของวัด
สามารถแบ่งได้เป็น
4 ยุค ดังนี้
พระธาตุช่อแฮ ผ้าแพรห่มธรรมแห่งโกสิยบรรพต
ในตำนานพระธาตุช่อแฮ
(ภาษาล้านนาอ่าน
“จ้อแฮ” )
ใช้คำว่า
“พระธาตุช่อแล” แผลงมาจาก
“ช่อแพร” หมายถึงการเอาผ้าแพร
(ภาษาเขมรเรียกผ้าโกศัย)
ไปห่มพระธาตุ
ณ ดอยศักดิ์สิทธิ์ลูกหนึ่งที่มีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า
“โกเสยฺยธชฺคคปพฺพตา” หรือ
“ดอยโกสิยบรรพต” (ชาวบ้านเรียกง่ายๆ
ว่าดอยโกศัย
ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเดียวกันกับคำว่า
ผ้าแพร)
คำว่า
“แพร”/
“แพล”
ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
2-3
หลัก
ดังตัวอย่างเช่น จารึกสุโขทัยหลักที่
8
พบที่วัดเขากบ
(เขาสุมนกูฏ)
ปากน้ำโพ
นครสวรรคค์...
เสน่ห์ 100 ปี สถานีรถไฟสายเหนือ
การก่อสร้างสถานีรถไฟสายเหนือเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่
5
และสร้างต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่
8
(ระหว่าง
พ.ศ.
2453-2489) จากประวัติศาสตร์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ซึ่งแต่เดิมคือ “กรมรถไฟหลวง”
(ขึ้นกับกระทรวงโยธาธิการ)
บันทึกไว้ว่า
ประชาชนนิยมเดินทางโดยรถไฟมากที่สุดในช่วงสมัยรัชกาลที่
6-7
สองรัชกาลนี้ถือว่าเป็น
“ยุคทอง” ของการโดยสารรถไฟอย่างแท้จริง
เหตุที่หลังจากนั้นมาได้มีการตัดถนนเชื่อมเมืองแบบซูเปอร์ไฮเวย์จำนวนหลายสาย
ทำให้ผู้คนหันมาใช้รถราบนทางหลวงแผ่นดินแทน
ยิ่งยุคหลังๆ
ได้โอนกิจการการรถไฟไปเป็นรัฐวิสาหกิจ
รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนเต็มรูปแบบ
ยิ่งทำให้รถไฟไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทโดยสารประเภทอื่นๆ
ได้ อาทิ รถทัวร์ รถเมล์
เครื่องบิน รวมไปถึงปัจจุบันมีรถตู้
หากนับเส้นทางขึ้นสู่สายเหนือ จากจุดตั้งต้นจุดแรกคือสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า “หัวลำโพง” ...
เมืองปาย หลายหลากผู้คนและวัฒนธรรม
อำเภอปาย
จังหวัดแม่ฮ่อนสอน
ในอดีตเป็นเสมือนเมืองหน้าด่านของเชียงใหม่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ได้ค้นพบหลักฐานด้านโบราณวัตถุ
โบราณสถานกล่นเกลื่อนในสมัยล้านนาราว
700
กว่าปี
และหลายชิ้นเก่าแก่ถึงยุคหริภุญไชยตอนปลาย
เป็นชุมชนอาศัยของชาวลัวะ
ชาวเม็ง และกะเหรี่ยง มาก่อน
บริเวณนี้มีลำธาร
ลำห้วย ช้างพลายจำนวนมาก
อันเป็นที่มาของชื่อเมืองปาย
มีผู้สันนิษฐานกันว่า
น่าจะมาจากคำว่า “พลาย”
คือช้างเพศผู้
เมืองพลายเป็นเขตรอยต่อหรือประตูของเมืองเชียงใหม่ที่จะออกไปสู่แว่นแคว้นชุมชนไทใหญ่
ทำให้มีชาวไทใหญ่จากเมืองต่างๆ
หลั่งไหลกันอพยพเข้ามาอยู่อาศัย
อาทิ จากเมืองปั่น แสนหวี
เมืองนาย เชียงตุง หมอกใหม่
ลางเครือ รวมไปถึงชาวพม่า
มอญ และกะเหรี่ยง
กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามาตั้งรกรากแถบบ้านดอน
ปัจจุบันคือบ้านเวียงเหนือ
ตกลงใจกันอยู่ที่นั่น และยก
“ขุนส่างปาย” ขึ้นเป็นเจ้าเมือง
จากนั้นช่วยกันขุดคูรอบเวียง
เพื่อป้องกันสัตว์มารบกวน
มีประตูสามด้าน...
อดีต ปัจจุบัน อนาคต 7 ทศวรรษศาลากลางจังหวัดลำพูน
ศาลากลางจังหวัดลำพูน
เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่
21
ตุลาคม
2494
แล้วเสร็จวันที่
15
ธันวาคม
2495
ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดจำนวน
1,712,210
บาท
โดยกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้บริษัทอาสาสงครามเป็นผู้รับเหมาทำการก่อสร้าง
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ
พลตรีบัญญัติ เทพหัสดิน ณ
อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เดินทางมาเป็นประธานทำพิธีเปิดป้ายศาลากลางจังหวัดลำพูนเมื่อวันที่
2
กุมภาพันธ์
2496
และเปิดงานฉลองศาลากลางระหว่างวันที่
2-8
กุมภาพันธ์
2496
พันตำรวจตรีสงกรานต์
อุดมสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นประธานทำพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลากลางจังหวัดลำพูนเมื่อวันที่
21
ตุลาคม
2494
กาดกองต้า : ชุมชนการค้าท่าน้ำนานาชาติแห่งลุ่มแม่วัง
ย้อนอดีตตลาดการค้าทางน้ำของลำปางในยุครุ่งเรือง
ซึ่งศูนย์กลางของสยามอยู่ที่ปากน้ำโพ
จังหวัดนครสวรรค์ นั้น บริเวณ
“กาดกองต้า”
ริมน้ำแม่วังถือเป็นหัวใจสำคัญแหล่งเศรษฐกิจชุมชนนานาชาติอันดับหนึ่งของภาคเหนือตอนบน
คำว่า “กาด” หมายถึงตลาด ส่วน “กองต้า” เป็นการออกเสียงตามภาษาเหนือ มาจากคำว่า “กองท่า” ...
อารามเรือง เมืองปาน
อำเภอเมืองปาน
เมื่อไม่นานมานี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแจ้ห่ม
จังหวัดลำปาง
แต่พื้นที่อำเภอแจ้ห่มนั้นใหญ่โตกว้างขวางมากเกินไปจึงแยกเขตปกครองอำเภอเมืองปานออกมา
ลำพังเฉพาะอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนก็มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก
ในอดีต “เมืองปาน” เคยเป็นเมืองหน้าด่านหรือปราการทางทิศเหนือของเขลางค์นครตั้งแต่ยุคหริภุญไชย
ที่มาของชื่อ
“เมืองปาน” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่อง
“บ้านหลวงเมืองปาน” อธิบายว่า
ครั้งหนึ่งยังมีเจ้าเมืองปกครองบริเวณนี้
ได้สั่งให้ทำ “ปานคำ”
(ในเอกสารใบลานบางครั้งสะกดเป็น
“พาน” แต่อ่านออกเสียง “ปาน”)
คำว่า
“ปาน”...
สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ 17 จังหวัด เยือนเมืองพิชัย-เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
วันที่ 25-26
กรกฎาคม 2563
ที่ผ่านมา สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ
17 จังหวัด
(บวก 1
อำเภอคือ แม่แตง)
ได้จัดการประชุมสัญจรที่จังหวัดอุตรดิตถ์
ณ โรงแรมสีหราช
มีคณะกรรมการและสมาชิกของสมาคมสหพันธ์ฯ
จังหวัดต่างๆ เข้าร่วมงานราว
300 คน
ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนั้นด้วย
ในฐานะที่ปรึกษา “นายกจี๋”
หรือ “ภูศักดิ์ พรพิริยะวงษ์”
นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวจังหวัดลำพูน
ซึ่งยกทีมลูกเจ้าแม่จามเทวีไปร่วมงานมากถึง
40...
ก้าวข้ามศตวรรษแรกโบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย
11 ปีที่แล้ว ถ้าบางท่านจำได้ คงไม่ลืมข่าวร้อนเรื่องคณะกรรมการโบสถ์คริสต์ที่เชียงราย บางส่วนมีความประสงค์จะรื้อ “โบสถ์คริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย” หลังงาม อายุเกือบ 100 ปีทิ้ง เพื่อสร้างโบสถ์หลังใหม่ใหญ่โตกว่าทับที่เดิม ท่ามกลางกระแสการคัดค้านของนักอนุรักษ์ทุกฝ่ายที่ช่วยกันออกแรงปกป้องมานานแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552
แต่ในท้ายที่สุด ชาวคริสเตียนเชียงรายที่ไม่เห็นด้วยในการรื้อโบสถ์...
หอธรรมล้านนา ศรีสง่าแห่งอาราม
ความหมายของหอธรรม
“หอธรรม”
หมายถึงสถานที่เก็บพระธรรมคำสอน
ภาคกลางเรียกว่า “หอไตร”
ย่อมาจากคำว่าหอพระไตรปิฎก
ภาคกลางนิยมสร้างหอไตรในเขตสังฆาวาส
แต่ว่าทางภาคเหนือกลับนิยมสร้างในเขตพุทธาวาส
ความสำคัญของคัมภีร์พระไตรปิฎก
ในครั้งพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่
พระองค์แสดงธรรมเทศนาด้วยมุขปาฐะ
หรือเล่าเรื่องด้วยปากเปล่า
ผู้ฟังต้องจดจำเอง
ยุคนั้นจึงยังมิได้แยกคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหมวดหมู่
จนกระทั่งมีการสังคายนาพระไตรปิฎก
หมายถึงการชำระคัมภีร์ทั้งหมดด้วยการบันทึกไว้ให้ง่ายแก่การจดจำ
หลังที่ทรงปรินิพพานไปแล้ว